ข้อเสียของการจอดรถตากแดด ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

64 views

1 min read

หลายคนต้องจอดรถตากแดดไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามคงคิดว่าพักเดียวก็ไม่เป็นไร แต่จริง ๆ แล้วรู้หรือไม่!? ว่าการจอดลักษณะนี้ล้วนมีข้อเสียมากกว่าที่คิด และหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องจอดรถกลางแดดจะเป็นเวลาเท่าไหร่ก็ตาม แล้วอยากรู้ว่าจะมีข้อเสียอย่างไรบ้าง เอาเป็นว่าตามเราไปติดตามคำตอบพร้อมกันได้เลย รู้แล้วรีบเปลี่ยนสถานที่จอดรถซะ

เปิดข้อเสียของการจอดรถตากแดด ที่รู้แล้วเลี่ยงได้เลี่ยงเลย

ปัจจุบันต้องเข้าใจด้วยว่าความร้อนที่มาจากแสงแดดนั้นโดยเฉพาะช่วงกลางวันจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 36 – 40 องศาเซลเซียส แล้วยิ่งถ้าเราไปเลือกจอดรถตากแดดด้วยอุณหภูมิแบบนี้ก็อาจจะเกิดผลเสียที่รวดเร็ว หรือสึกหรอ ชำรุดเร็วมากก็เป็นได้ เพราะความร้อนมีสะสมเพิ่มมากขึ้น แล้วผลเสียแบบเจาะลึกเป็นอย่างไร?

1. ส่งผลอะไหล่รถที่จะเสื่อมสภาพ

จอดรถตากแดดไม่ว่าจะพักเดียว หรือกินเวลานานโดยเฉพาะที่ต้องจอดรถตากแดดทุกวันอยากให้รู้ถึงผลเสียแรกก็คืออะไหล่รถต่าง ๆ ที่จะเสื่อมสภาพ เช่น ในส่วนของตัวยางรถยนต์ที่หากต้องอยู่กลางแสงแดดนาน ๆ ก็จะทำให้ยางแตก ปริ รั่ว หรืออะไหล่อื่น ๆ เช่น ขอบประตู ยางที่ปัดน้ำฝน รวมถึงเบาะภายในรถก็จะเกิดปัญหาแห้ง แตกได้

2. สีของตัวรถจะซีดลง

ต่อมาก็คือเรื่องของสีของตัวรถที่จะมีความซีดลงกว่าเดิม ยิ่งถ้าเป็นการจอดรถตากแดดเป็นประจำทุกวันก็จะยิ่งส่งผลมากขึ้น ทำให้สีได้รับผลกระทบ โดยที่นับวันก็จะเก่าลง ๆ เนื่องจากรังสียูวีได้มีการดูดซับเอาสารเคมี หรือแว็กซ์ที่เคลือบตัวรถออกไป ความเงางามที่มีก็ลดลงนั่นเอง

3. กระจกรถมีโอกาสแตกเอง

การที่เราได้จอดรถตากแดดนาน ๆ ต้องบอกเลยว่าส่งผลต่อตัวกระจกข้าง หรือกระจกหน้ารถ หลังรถอย่างมาก เพราะแรงจะได้ส่งความร้อน ยิ่งจอดทุกวันแสงส่องทุกวันก็มีโอกาสที่จะเสียหายได้ในที่สุด กลายเป็นว่าต้องมานั่งซ่อมกันยกใหญ่ไปอีก หรือถ้าใครเห็นว่าเป็นรอยร้าวก็นั่นแหละสัญญาณเตือนดี ๆ เลยเชียว

4. ระบบแอร์จะต้องทำงานหนักกว่าเดิม

ด้วยความร้อนที่แผดเผาลงมาที่ตัวรถยนต์เป็นประจำทุกวัน ๆ เมื่อเราต้องกลับมาสตาร์ทแล้วเปิดแอร์ทันทีก็จะรู้สึกได้ว่าแอร์ยังไม่มีความเย็นอันเนื่องมาจากภายในรถสะสมความร้อนไว้สูง และทำให้ระบบแอร์ทำงานได้ไม่ทันกาล และทำให้แอร์ต้องเร่งการทำงานที่มากขึ้นกว่าเดิม และถ้าจอดรถตากแดดเป็นประจำก็จะส่งผลให้แอร์มีปัญหาได้นั่นเอง

5. น้ำมันมีโอกาสระเหยได้

สุดท้ายก็คือเรื่องของน้ำมันที่เราเติมนี่เองจะมีปัญหาตามมาได้ เพราะน้ำมันเป็นของเหลว ดังนั้นการที่คุณจอดรถตากแดดยิ่งเป็นเวลานานและทุกวันก็ส่งผลให้น้ำมันระเหยง่ายมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบรก หรือน้ำมันเครื่องก็ตาม และการที่ไม่ตรวจเช็คก็ทำให้น้ำมันแห้งได้ มีโอกาสที่จะเกิดผลเสียต่อรถยนต์และตนเองอย่างมาก เพราะการที่น้ำมันแห้งขับรถไปบนถนนก็มีโอกาสที่จะหยุดกลางทางมาดื้อ ๆ

แล้วถ้าเลี่ยงการจอดกลางแดดไม่ได้ควรทำอย่างไร?

กรณีที่พยายามแล้วแต่ไม่สามารถเลี่ยงแสงแดดได้จริง ๆ เราก็มีวิธีที่น่าสนใจมาแนะนำ ซึ่งหากใครอยากรู้แล้วเราไปติดตามพร้อมกันเลยดีกว่า

Sponsored

1. ต้องมีการหุ้มเบาะที่นั่งในรถ

อย่างที่บอกว่าภายในรถมีโอกาสที่แสงจะส่องไปถึง แล้วทำให้เบาะรถเสื่อมสภาพได้ แนะนำว่าให้คุณหุ้มเบาะไปเลย โดยเฉพาะเบาะที่รับแสงแดดได้ง่าย ๆ เพราะไม่อย่างนั้นจะเสื่อมสภาพ การหุ้มเบาะจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเบาะได้นานมาก

2. ติดฟิล์มกรองแสงลดความร้อน

การที่เราต้องจอดรถตากแดดแน่นอนว่าเกิดการเสื่อมสภาพของตัวรถได้ง่าย ๆ เราเลยแนะนำให้ติดฟิล์มที่มีความเข้มข้นสูง ป้องกันกระจกแตก ป้องกันเบารถมีปัญหาไปในตัว เอาระดับประมาณ 40 – 60% ไปเลย หรือใครจะเพิ่มเป็น 60 – 80% ก็ได้ แต่ควรเลือกประเภทที่มองเห็นได้ตอนกลางคืน และส่วนผสมสารปรอทก็ต้องตามมาตรฐานด้วย

3. ใช้ผ้าคลุมรถ

วิธีแก้ไขต่อมาก็คือการที่เราเลือกผ้าไว้คลุมรถ โดยที่ตัวรถจะมีอุรหภูมิที่สูงจากแสงแดดได้ง่าย ๆ สีก็ซีดเร็ว ดังนั้น ให้เราใช้ผ้ามาคลุมเอาไว้เลย เพื่อป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด และส่วนใหญ่ผ้าคลุมรถจะสามารถส่องสะท้อนแดดออกไปได้ด้วย

4. ใช้ม่านบังแสงแดด

จอดรถตากแดดทุกวันอย่ามองข้ามการใช้ม่านมาบังแดดไว้ไม่ให้เข้าตัวรถ โดยที่จะช่วยลดอุณหภูมิภายในห้องโดยสารอย่างดี ไม่ทำให้แอร์ต้องทำงานหนัก รวมถึงป้องกันอุปกรณ์ภายในรถอื่น ๆ ก็จะได้รับการป้องกันในระดับหนึ่งด้วย แม้จะไม่ได้ช่วยนอกตัวรถ ช่วยด้านในรถก็ยังดี

การจอดรถตากแดดจะทุกวันหรือไม่ทุกวัน จะนานไม่นานใด ๆ แล้วเราไม่ควรเอารถไปเสี่ยง อยากให้เลือกหาที่จอดที่มีหลังคาปิดคลุมบ้างก็ยังดี ไม่ว่าจะเป็นหลังคาที่ทำจากวัสดุปิดทึบ หรือเป็นผ้าใบ เป็นตาข่าย เพราะอย่างน้อย ๆ ก็ช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้ ซึ่งหากสามารถเลี่ยงได้ก็แนะนำให้เลี่ยง แต่ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ลองนำวิธีแก้ไขเหล่านี้ไปใช้ดู อย่างน้อย ๆ ก็ช่วยเหลือรถของเราไม่ให้เสื่อมสภาพขึ้นรวดเร็ว

ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/