รู้หรือไม่ พัฒนาการด้านการได้ยินเสียงของทารกเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณพ่อต้องคุยบ่อย ๆ

0 views

1 min read

พัฒนาการของลูกน้อยนั้นมีตั้งแต่อยู่ในครรภ์คุณแม่แล้ว ซึ่งพัฒนาการด้านการได้ยินเสียงถือว่าควรค่าต่อการส่งเสริม โดยเฉพาะคุณพ่อที่สามารถพูดคุยบ่อย ๆ ได้ด้วย แต่หากใครยังไม่รู้มาก่อนแล้วต้องการคำแนะนำเพิ่มความเข้าใจมากขึ้น วันนี้ได้รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ มาให้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง

เสริมสร้างพัฒนาการด้านการได้ยินเสียง ด้วยการพูดคุยกับลูก

พัฒนาการของลูกน้อยนั้นสามารถร่วมกันเสริมสร้างได้ง่าย ๆ ขณะตั้งครรภ์อยู่ก็ตาม ซึ่งนอกจากการกินอาหารที่มีคุณค่าแล้ว ก็ต้องเสริมด้วยพฤติกรรมที่คุณพ่ออย่างเราก็ช่วยคุณแม่ได้เช่นกัน หลัก ๆ แล้วคือการพูดคุย รวมถึงการสัมผัส หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เสริมสร้างพัฒนาการทั้งการได้ยินเสียง และด้านอื่น ๆ ควบคู่กันไป ซึ่งการที่แม่อารมณ์ดีอยู่เสมอร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขผ่านทางสายสะดือทำให้ลูกมีพัฒนาการด้านอารมณ์ และสมอง กลับกันหากคุณแม่เครียด หงุดหงิดง่าย โมโหง่ายร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีน หรือสารแห่งความเครียด ทำให้ลูกงอแง เลี้ยงยาก รวมถึงพัฒนาการช้า ไม่ว่าจะการได้ยินเสียงและอื่น ๆ

ซึ่งการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการได้ยินเสียง ด้วยการพูดคุยกับลูกนั้นควรทำเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 5 เพราะปกติแล้วหูของทารกจะมีความสมบูรณ์ได้ภายใน 20 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 24 ก็จะรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน และในสัปดาห์ที่ 30 ก็จะได้ยินเสียง ท้ายที่สุดสัปดาห์ที่ 34 จะสามารถแยกแยะเสียงได้ การพูดคุยเป็นการกระตุ้นจากภายนอกที่ช่วยสร้างเครือข่ายประสาทการทำงานให้ดีขึ้น แน่นอนว่าวิธีการกระตุ้นพัฒนาการทารกที่น่าสนใจที่สุด ก็คือการที่คุณพ่อพูดคุยกับลูกในท้อง

ดังนั้น คุณพ่อจึงควรเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างกัน พยายามหาเรื่องมาเล่า มาพูดคุย อาจคุยว่ากำลังทำอะไรอยู่ มีอะไรจะโชว์ลูก หรือทำเสียงประหลาด ๆ เสียงสอง เสียงสามแหย่ลูกก็ได้ โดยให้ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต นอกจากเสียงที่คุณพ่อพูดคุยแล้ว คุณพ่อยังสามารถใช้เสียงเพลงเข้าช่วยได้ เปิดวันละประมาณ 10 – 15 นาที เอาทำนองที่ไพเราะ ฟังสบายและคุณแม่ก็ชอบด้วย ช่วยให้ลูกได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ รับรองฉลาด สมองดี และจดจำสิ่งต่าง ๆ ไม่มีพลาด

วิธีเสริมสร้างพัฒนาการที่คุณพ่อต้องศึกษาเพิ่มเติม

1. ลูบหน้าท้องคุณแม่บ่อย ๆ

การลูบหน้าท้องขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะช่วยพัฒนาการด้านระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น เพราะทุกการสัมผัสจะทำให้เส้นใยประสาทของสมองเกิดการตื่นตัว เพิ่มความไว เพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ รวมถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดีขึ้นด้วย ยิ่งลูกขยับตัวโต้ตอบยิ่งเป็นสัญญาณที่ดี เช่น ลูบแล้วลูกขยับตาม หรือจะลูบไปด้วยพูดคุยไปด้วยก็สร้างความคุ้นเคยกันดีไปอีก

2. ใช้ไฟฉายส่องหน้าท้อง

เมื่อมีอายุครรภ์ 7 เดือนแล้ว ลูกน้อยจะมีการกะพริบตาเพื่อตอบสนองต่อแสงที่มากระตุ้นหน้าท้องได้ ดังนั้น จึงอยากแนะนำให้คุณพ่อเอาไฟฉายส่องไปที่หน้าท้องเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทารกส่วนเซลล์สมอง และเส้นประสาทให้รับภาพ การมองเห็นอย่างดีที่สุด หลังคลอดจะได้เตรียมพร้อมด้านการมองเห็น ส่องตรงไหนได้หมดไม่จำเป็นต้องที่ดวงตาเท่านั้น

Sponsored

3. นวดลูกเพิ่มความผ่อนคลาย

นอกจากการลูบคลำหน้าท้องแล้ว คุณพ่อยังสามารถช่วยนวดลูกเพิ่มความผ่อนคลายได้ด้วย แถมยังทำให้ลูกเข้าใจถึงสัมผัสคุณพ่อที่ไม่เคยมีมาก่อน สังเกตได้ว่าหากลูกต้องการให้นวดก็จะขยับเข้ามาหามือที่กำลังนวดเบา ๆ แต่ก็อาจมีบ้างในช่วงที่คุณพ่อนวดผิดเวลาลูกดิ้นหนีแต่ก็ไม่บ่อย

4. อ่านหนังสือหรือนิทานให้ลูกฟัง

จริง ๆ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยพัฒนาด้านการได้ยินเสียงของลูกน้อย ซึ่งคุณพ่อสามารถอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้ลูกฟังได้ เพื่อกระตุ้นให้สมองเกิดการจดจำ และคุ้นชินคำ คุ้นชินประโยคที่คุณพ่อพูด เพราะทุกเสียงที่เปล่งออกมาให้ลูกฟังจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยบันทึก และสร้างวงจรคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ดี ทั้งนี้ สามารถต่อยอดหลังคลอดได้ด้วย

อายุครรภ์เท่าไหร่ ลูกมีพัฒนาการอย่างไร?

  • อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นช่วงที่ไข่ผสมกับอสุจิ เริ่มเคลื่อนตัวไปฝังที่มดลูก เนื้อเยื่อค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นส่วนหนึ่งของทารก
  • อายุครรภ์ 2 เดือนมีการสร้างอวัยวะ สามารถแยกได้ว่าส่วนไหนคือศีรษะ ขา แขน จะพบว่าส่วนศีรษะใหญ่กว่าตัว มีสายสะดือให้ปอดเอาออกซิเจนและอาหารจากแม่ได้
  • อายุครรภ์ 3 เดือน อวัยวะบนหน้าเกือบสมบูรณ์ สมองและกล้ามเนื้อประสานเริ่มทำงานแล้ว
  • อายุครรภ์ 4 เดือน พัฒนาการทารกคือรู้เพศนั้น ๆ ได้แล้ว ไตทำงานเหมือนผู้ใหญ่ ลูกดิ้นแรงขึ้น
  • อายุครรภ์ 5 เดือน ทารกสามารถรับรู้ถึงกลิ่น รส และเสียง แม้ตาจะปิดอยู่ก็ตาม การได้ยินเสียงพัฒนามากขึ้น คุณพ่อคุณแม่พูดอะไรรับรู้
  • อายุครรภ์ 6 เดือน เคลื่อนไหวได้ดีมากขึ้น ตอบโต้สิ่งเร้าได้ดี
  • อายุครรภ์ 7 เดือน สามารถลืมตาได้แล้ว ปอดพัฒนาตัวเองเต็มที่ หัวใจเต้นตามการเปลี่ยนแปลงของเสียง แสงที่ทารกสัมผัส
  • อายุครรภ์ 8 เดือน ทารกเริ่มกลับตัวเพื่อเตรียมตัวคลอด คุณแม่จะเจ็บท้องเตือนอยู่บ่อย ๆ
  • อายุครรภ์ 9 เดือน ลูกอยู่ในตำแหน่งพร้อมคลอด ดิ้นน้อย

เมื่อคุณพ่อรู้แล้วว่าจะพัฒนาการด้านการได้ยินเสียงของลูกน้อยอย่างไร ก็อย่าลืมทำเป็นประจำสม่ำเสมอ เอาใจใส่ลูกเข้าไว้ช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างกันและกันได้ดี เมื่อลูกคลอดออกมาจะได้จำพ่อได้แม่นยำ


ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/