กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่ตั้งขึ้นมาสำหรับลูกจ้างที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ซึ่งกองทุนเลี้ยงชีพเป็นเหมือนสวัสดิการอย่างหนึ่งที่ผู้ที่เป็นลูกจ้างจะได้รับ โดยทั้งพนักงานและนายจ้างจะต้องจ่ายเข้าในกองทุนเลี้ยงชีพทุกเดือน เพื่อสำรองไว้ในตอนเกษียณ หรือลาออกจากงาน ทุพพลภาพ รวมทั้งเสียชีวิต และวันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับกองทุนเลี้ยงชีพกัน ว่ามีข้อดีอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คืออะไร ก็ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น สำหรับคนที่เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ก็มีข้อดีหลายๆ อย่าง เพราะกองทุนนี้เป็นเหมือนตัวช่วยชั้นยอดเลยสำหรับคนที่เป็นลูกจ้างมนุษย์เงินเดือนทำงานบริษัท โดยจะเป็นหลักประกันอย่างดีเมื่อเวลาเกษียณก็ยังมีเงินใช้จ่าย เปรียบเหมือนการลงทุนที่ได้ถึงสองต่อ เพราะเมื่อลูกจ้างจ่ายเงินสะสมแล้วนายจ้างยังต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้ด้วย ซึ่งจะมีข้อดีอีกหลายข้อดังต่อไปนี้
ผู้เป็นสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือจะได้รับเงินคืนก็ต่อเมื่อความเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสิ้นสุดลง และในส่วนของเงินสมทบนั้นจะได้รับคืนเต็มจำนวน ตามที่เงื่อนไขและข้อกำหนดที่ทำไว้ในสัญญา หรือตามข้อบังคับ เช่น เมื่อครบกำหนด 1 ปี ลูกจ้างจะได้รับเงินสมทบ 5% และเมื่อครบกำหนด 2 ปี ลูกจ้างจะได้รับเงินสมทบ 10% ซึ่งก็ขึ้นกับกฎและข้อบังคับที่แตกต่างกันออกไปขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั้นเป็นกองทุนที่มีประโยชน์มาก สำหรับมนุษย์เงินเดือน เพราะเป็นกองทุนที่สะสมเงินไว้ เพื่อให้ผู้เป็นลูกจ้างเอาไว้ใช้เมื่อยามเกษียณ เป็นกองทุนที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างพร้อมใจจัดตั้งขึ้นมา ก็เพราะตระหนักถึงประโยชน์ของลูกจ้าง ที่เมื่อเกษียณงานแล้ว จะได้มีเงินก้อนเอาไว้ใช้จ่ายอย่างสบายๆ อละสำหรับสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นมีอยู่ 4 ข้อหลักดังนี้
ตามกฎหมายข้อบังคับกำหนดให้ผู้เป็นนายจ้างกำหนดเงินที่จะสมทบให้กับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่นายจ้างจะเลือกจ่ายได้ตั้งแต่ 2 – 15 % ซึ่งบางบริษัทนายจ้างจะเลือกจ่ายเท่ากับที่ลูกจ้างเลือกจ่ายสะสมไป ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างเลือกสะสม 2000 บาทต่อเดือน ผู้เป็นนายจ้างก็จะจ่ายเงินสมทบเท่าที่เราเลือกจ่ายไปนั่นก็คือ 2000 บาทเหมือนกัน นั่นก็หมายความว่าถ้าลูกจ้างสะสมมากนายจ้างก็จะสมทบให้มากตามที่ลูกจ้างสะสม หรือไม่ก็นายจ้างเลือกปรับตามอายุงานของลูกจ้างก็ได้ และนอกจากนี้ถ้าลูกจ้างออกจากกองทุนแต่ยังไม่ได้ออกจากงาน นายจ้างสามารถกำหนดเงื่อนไขของการจ่ายเงินได้โดยการไม่จ่ายเงินสมทบให้ลูกจ้างอีกต่อไปก็ได้เช่นกัน
เมื่อได้คำตอบแล้วว่าเราสะสมเข้ากองทุนเดือนละกี่บาท อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือการลงทุนที่จะทำให้เงินได้ผลิดอกออกผลนั่นเอง โดยสมาชิกกองทุนสามารถเลือกการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง ซึ่งหลายคนคิดไม่ออกว่าจะลงทุนแบบไหนดี จึงมักจะเลือกการลงทุนแบบความเสี่ยงต่ำสุด เพราะกลัวผลตอบแทนจะติดลบ หรือไม่ก็เลือกลงทุนตามเพื่อน ซึ่งแบบนี้เป็นสิ่งไม่ควรทำเป็นอย่างมาก เพราะพอเวลาผ่านไปอีกหลายปีเกิดคิดขึ้นมาได้เลยต้องการเปลี่ยนแผนการลงทุนใหม่ และยิ่งบางคนเลือกลงทุนตามหัวหน้างาน ที่ใกล้เกษียณงานแล้วยิ่งไม่เหมาะสมอย่างมากกับสมาชิกที่อายุยังน้อยอยู่ เพราะยังมีเวลาที่จะทำให้เงินลงทุนผลิดอกออกผลได้อีกนาน
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือการลงทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนดไว้ โดยสมาชิกต้องไม่มีเงินในกองทุนเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนเพื่อการออม (SSF) เมื่อนับรวมกันแล้ววงเงินห้ามเกิน 500,000 บาท จึงสามารถลดหย่อนภาษีได้ แต่ถ้าวงเงินที่สมาชิกมีมากกว่าวงเงินที่กำหนดไว้แล้วก็ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
การที่ต้องย้ายที่ทำงาน หรือลาออกจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำก่อนวัยที่จะเกษียณ เป็นเรื่องปกติของคนทำงานทั่วๆ ไป เพื่อสิ่งที่ดีกว่าเดิม แต่หลายคนกลับจัดการกับกองทุนเลี้ยงชีพของตัวเองได้อย่างไม่เหมาะสม ทำให้มีผลเสียที่ตามมา เพราะโดยทั่วไปแล้ว เมื่อใดก็ตามที่เราลาออกจากบริษัทเดิมที่เราทำงานอยู่ เราสามารถจัดการกับเงินกองทุนเลี้ยงชีพของเราได้ด้วย 4 วิธีหลักๆ ดังนี้
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือกองทุนที่ลูกจ้างมนุษย์เงินเดือนได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้างแล้วยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย และยังเป็นกองทุนที่เป็นตัวช่วยที่ดีในวัยเกษียณ ซึ่งคุณจะมองข้ามไม่ได้เลยเชียว
ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/