ปัญหาลูกโดนแกล้ง ถูกบูลลี่จากเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนนั้นนับเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะอาจเกิดผลต่อสภาพจิตใจ และร่างกายจนลูกอาจมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ หรือไม่อยากไปโรงเรียนก็เป็นได้ ดังนั้น เราจึงควรต้องศึกษาถึงปัญหานี้อย่างถี่ถ้วน และรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ลูกได้รู้สึกปลอดภัย กล้าไปโรงเรียนดังเดิม
คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะเพิ่งเคยได้ยินกับคำว่าบูลลี่ ซึ่งอธิบายให้เข้าใจก่อนว่า บูลลี่คือการกลั่นแกล้งเพื่อสร้างความเจ็บปวดทั้งทางจิตใจและร่างกาย โดยเฉพาะที่ลูกต้องไปอยู่ในสังคมส่วนรวมที่ใหญ่ขึ้นนอกเหนือจากครอบครัว แน่นอนว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ลูกเราเป็นได้ทั้งเหยื่อที่ถูกแกล้ง และเป็นส่วนหนึ่งที่ไปบูลลี่เพื่อนคนอื่น โดยประเภทของการบูลลี่นั้นมีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
อย่างไรแล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตสัญญาณบางอย่างกับลูกหลังกลับจากโรงเรียนได้ ซึ่งบ่งบอกว่าลูกโดนแกล้ง หรือกำลังถูกบูลลี่อยู่ ได้แก่
1. กล้าที่จะพูดออกไปว่าเราก็ไม่พอใจ
ลูกโดนแกล้งแล้วไม่แสดงความไม่พอใจออกมา ทั้งการกระทำ หรือคำพูด ยิ่งทำให้ผู้กระทำรู้สึกสนุกสนาม สะใจ และต้องการแกล้งอยู่ซ้ำ ๆ เพราะคิดว่าสามารถทำได้ ดังนั้น เราจึงควรสอนให้ลูกรู้จักกล้าที่จะแสดงความรู้สึกไม่พอใจออกมา ทำให้ผู้กระทำคนนั้นรู้สึกกลัว ไม่กล้าทำ และหยุดทำในที่สุด
2. อย่ามองว่าตัวเองเป็นปัญหา
บางครั้งลูกมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างไปจากเพื่อน ๆ เช่น เชื้อชาติ เพศสภาพ หรือรูปร่างหน้าตา ฯลฯ พยายามสอนลูกว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่แตกต่างหรือเป็นปัญหา เพราะเราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้เราจะไม่เหมือนเพื่อนก็ตาม เพราะการที่ลูกถูกเพื่อนแกล้งมาจากทัศนคติของเพื่อนที่เป็นปัญหาต่างหาก จงสอนว่าเขาไม่ใช่ตัวปัญหา และสิ่งที่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่ปัญหาด้วย ปัญหาอยู่ที่คนมาแกล้ง
3. ถ้าโดนแกล้งเมื่อไหร่ให้รีบบอกครู และบอกพ่อแม่
การที่ลูกโดนแกล้งเป็นประจำส่วนหนึ่งเป็นเพราะลูกไม่ยอมบอกใครว่ากำลังถูกแกล้ง ทำให้ปัญหายังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ และไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม ตรงจุด เราจึงควรสอนให้ลูกรีบบอกทันทีเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ถูกบูลลี่กลั่นแกล้งอย่าเงียบหรือเพิกเฉย เพราะปัญหานี้ต้องได้รับความร่วมมือแก้ไขจากหลายฝ่าย
4. หาหนทางจัดการความเครียด
แน่นอนว่าการที่ลูกโดนแกล้ง ถูกบูลลี่สร้างความเครียดได้แม้ว่าลูกจะยังเด็ก หรืออายุเท่าไหร่ก็ตาม ควรให้ลูกได้บอกเล่าถึงปัญหากับผู้ที่ไว้ใจได้ เช่น บอกกับคุณพ่อคุณแม่ ครู นอกจากนี้เรายังควรต้องหากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกได้ทำเพื่อคลายความเครียดที่มี เช่น ดูการ์ตูน เล่นบ้านบอล ออกกำลังกาย ดูภาพยนตร์ หรือไปห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น สวนสนุก เป็นต้น ไม่ต้องไปหมกมุ่นกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่
5. อย่าให้ลูกเก็บตัวอยู่คนเดียว
สุดท้ายการอยู่คนเดียวไม่ได้ช่วยลดปัญหา หรือจัดการกับการกลั่นแกล้งได้ พยายามสังเกตและหากพบว่าถูกเก็บตัวเงียบ หรือปลีกตัวอยู่คนเดียวให้รีบเข้าไปพูดคุยด้วย เพราะยิ่งอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ยิ่งลดความมั่นใจ และความภาคภูมิใจได้ ยิ่งทำให้สถานการณ์ลูกโดนแกล้งแย่ลงเรื่อย ๆ
และทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดของพฤติกรรมลูกโดนแกล้ง และการบูลลี่ รวมถึงคำแนะนำขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้ได้หากลูกต้องเผชิญกับปัญหานี้ในทุก ๆ วัน ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนอาจมีประสบการณ์การถูกแกล้ง หรือบูลลี่ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องเลือกวิธีแก้ไขที่ตรงจุด เหมาะสม ความร่วมมือระหว่างคุณครู คุณพ่อคุณแม่ก็คือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะช่วยยุติปัญหาในโรงเรียนได้ ดังนั้น หากพบว่าเด็ก ๆ หรือลูกกำลังโดนแกล้ง เป็นผู้ถูกกระทำให้รีบเคลียร์โดยเร็ว ไม่ทำให้เด็กกลายเป็นปมด้อยส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เพราะเรื่องพวกนี้เป็นแผลในใจที่ไม่มีวันจางหายได้ง่าย ๆ
ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/