นอกจากปัญหาผมร่วงหลังคลอดแล้ว “ซึมเศร้าหลังคลอด” ก็เป็นอีกปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญและไม่อาจละเลยไปได้โดยเฉพาะคุณพ่อที่ต้องคอยสังเกตและแก้ปัญหา ซึ่งหากคุณพ่อคนไหนเกิดปัญหาเรื่องนี้แล้วไม่รู้จะทำยังไงดี เอาเป็นว่าตามเรามาทางนี้ได้เลย เพราะมีข้อมูลที่น่าสนใจมาบอกต่อ การันตีช่วยคลายปัญหาอย่างรวดเร็ว
บางครั้งความเครียด เป็นกังวลก็มีส่วนที่จะทำให้คุณแม่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ คุณพ่อควรสังเกตว่าคุณแม่ดูกระวนกระวายขณะเลี้ยงลูกหรือไม่ หรืออาจจะช่วยเลี้ยงด้วยก็ได้ลดภาระคุณแม่ไม่มากก็น้อย ที่สำคัญคือการหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงเด็กทารก เพื่อเป็นการเสริมความมั่นใจให้ทั้งคุณแม่และคุณพ่อเองผ่านพ้นความยากลำบากนี้ไปได้ด้วยดี
อย่างที่บอกไปแล้วว่าคุณพ่อสามารถแบ่งเบาภาระการเลี้ยงลูกจากคุณแม่ได้สบาย ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการช่วยกันเลี้ยง ไม่ใช่ปล่อยให้คุณแม่เลี้ยงลูกอยู่คนเดียว เพราะจะทำให้คุณแม่รู้สึกน้อยใจ เครียด ทั้งที่เพิ่งผ่านความเจ็บปวดมาแต่ก็ต้องมาอดหลับอดนอนในขณะที่คุณพ่อหลับสบายแบบนี้ก็ไม่ได้ อาจจะแบ่งเวลาหลังกลับจากทำงานมาช่วยอาบน้ำ ป้อนข้าวลูกบ้างให้คุณแม่ได้รู้สึกว่าพักผ่อนเล็ก ๆ น้อย ๆ ลดความเสี่ยงอาการซึมเศร้า
แน่นอนว่าเด็กทารกในช่วงแรก ๆ มักจะตื่นร้องไห้ในช่วงกลางคืนอาจจะเพราะยังไม่คุ้นชินกับการปรับตัว แน่นอนว่าเป็นอะไรที่คุณแม่จะเหนื่อยและเพิ่มความเครียด ป่วยง่ายเอามาก ๆ ดังนั้น จึงควรมีการผลัดเปลี่ยนเวรโดยเฉพาะช่วงกลางคืน ให้คุณแม่ได้นอนหลับเต็มที่ พร้อมรับมือกับเช้าวันใหม่ได้ ซึ่งคุณพ่อที่ทำงานตอนเช้าก็อาจจะงีบหลับช่วงก่อนรุ่งสางให้คุณแม่ดูแทนก็ได้ เพราะไม่อย่างนั้นเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
เพื่อลดการเกิดอาการซึมเศร้าของคุณแม่ คุณพ่อต้องคอยกระตุ้นหากิจกรรมที่คุณแม่ชอบให้ทำคลายเครียดบ้าง ไม่ใช่ว่าต้องคลุกอยู่แต่การเลี้ยงลูกเท่านั้น อาจจะชวนกันออกกำลังกาย เล่นดนตรีร้องเพลง ทำอาหารที่คุณแม่ชอบ หรือให้รางวัลอย่าง ชื่นชม กอด พาไปซื้อของขวัญที่อยากได้ พาไปนั่งร้านอาหารกินข้างนอกบ้าน ฯลฯ
เรื่องสำคัญของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดก็คือการที่คุณแม่ค่อนข้างอ่อนไหวง่าย คิดเยอะ ที่สำคัญคือมีอารมณ์ขึ้นลงได้ง่าย ๆ ดังนั้น คุณพ่อควรทำความเข้าใจและพยายามใจเย็นอย่างที่สุด ไม่ตำหนิ ดุด่าทอด้วยถ้อยคำรุนแรง อาศัยความอดทนและทำความเข้าใจคุณแม่มาก ๆ ซึ่งภาวะนี้มีโอกาสพบเจอและหายไปได้เองอยู่แล้ว
อาจจะให้คุณแม่ได้เข้ากลุ่ม “Group therapy” หรือพาไปพบเจอกับครอบครัวอื่น ๆ ที่ก็กำลังเผชิญปัญหาซึมเศร้าหลังคลอดแบบนี้เหมือนกันอยู่ก็ได้ ได้ร่วมพูดคุยถึงปัญหา แบ่งปันวิธีการแก้ไขอื่น ๆ หรือวิธีคลายเครียดที่อาจตรงในคุณแม่ เป็นการขจัดปัญหาต่าง ๆ ให้ออกไปด้วยตัวเอง ทำให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้น
สุดท้ายหากพยายามทำตามคำแนะนำ แต่เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ อาการซึมเศร้าก็ยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมากกว่าเดิม บางคนกลายเป็นคนละคนพูดคนเดียว กลายเป็นใครก็ไม่รู้เหมือนถูกสิง ไม่เหมือนคนทั่วไป หรือร้ายแรงถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายแบบนี้ให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไปจะดีกว่า
อย่างไรแล้วคุณพ่อที่อยากลองสังเกตว่าคุณแม่หรือศรีภรรยาของเรามีอาการป่วยซึมเศร้าหลังคลอดอยู่หรือไม่ ให้ลองสังเกตได้ตามอาการเหล่านี้ หากพบว่ามีอย่างน้อย 5 ใน 9 ข้อ หรือใกล้เคียงกันให้รับมือแก้ไขปัญหาได้ทันที
ต้องบอกว่าซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่บางคนเป็นขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งนี้แล้ว ในอนาคตหากมีการตั้งครรภ์อีกอาจเป็นซ้ำได้ แต่ทั้งนี้ก็อย่าเพิ่งกังวลเพราะสามารถหายได้เช่นกัน สิ่งที่อยากแนะนำคือคุณพ่อควรปรึกษาแพทย์ถึงเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าเพื่อให้แพทย์พิจารณาจ่ายยาป้องกันหลังคลอด ก่อนเกิดอาการขึ้นซ้ำอีกครั้ง
ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/