หลายคนอาจจะรู้สึกท้อแท้ หรือคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่เติบโตพัฒนาศักยภาพเท่าที่ควร อยากบอกว่าจริง ๆ เราทุกคนยังคงสามารถทำได้เพียงเลือกหลักการพัฒนาตัวเองที่เหมาะสม อย่างที่เราจะแนะนำต่อไปนี้ก็คือการพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่เก่งขึ้นได้ด้วยหลัก PDCA ทว่าหลักการนี้คืออะไร แล้วจะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร เราไปติดตามพร้อมกันเลยดีกว่า
PDCA คือ หลักการวงจรบริหาร 4 ขั้นที่สามารถช่วยบริหารงานคุณภาพชีวิตโดยที่จะเป็นกระบวนการใช้ปรับปรุงการทำงานต่าง ๆ ของเราภายในองค์กรอย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมายแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมา และร่วมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยจะทำซ้ำได้เรื่อย ๆ คือ Plan – Do – Check – Act ซึ่งผู้คิดค้น อย่าง ดร.วิลเลียม เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง ได้คิดค้นเพื่อนำพาความเชื่อที่ว่าคุณภาพของมนุษย์สามารถปรับปรุงพัฒนาได้อยู่เสมอ และนำไปประยุกต์ต่อยอดทางธุรกิจ หรือองค์กรทุกรูปแบบได้เลย รวมถึงการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการใช้งานนั้น ได้แก่
1. P = Plan หรือวิเคราะห์ ระบุปัญหา
หลักการพัฒนาตัวเองที่เป็นการเริ่มต้นวางแผนถึงเป้าหมายที่เราจะทำไว้ชัดเจน โดนที่จะครอบคลุมทั้งหมดของกระบวนการตั้งแต่เริ่มไปจนถึงสุดสิ้นสุด ว่าพบเจอกับปัญหาอะไรบ้างที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว แล้วใครเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ หรือเป็นการตั้งเป้าหมายในชีวิตของตัวเอง ที่จะสามารถวัดผลต่อไปได้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมที่มี เช่น อยากให้ทุกคนทำงานเร็วขึ้นกี่ชั่วโมง อยากลดของเสียที่มีกี่ % หรือจะเพิ่มยอดขายให้ตัวเองเท่าไหร่ ฯลฯ หรือเราสามารถตอบคำถามได้ชัดเจน ก็จะเข้าสู่กระบวนการต่อไปได้ทันที
2. D = Do พัฒนา และดำเนินการตามแผน
เมื่อเราสามารถกำหนดแผนการหลักการพัฒนาตัวเองที่จะลงมือทำได้แล้ว สิ่งต่อมาที่จะต้องลุยต่อก็คือการนำแผนการที่คิดไว้มาใช้ หรือดำเนินการจริง ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คาดหวัง ซึ่งเราควรต้องคิดไว้เสมอด้วยว่าอาจจะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ และถือเป็นเหตุผลที่ควรใช้แผนการกับทีมที่มีไม่กี่คนไปก่อน เพราะหากทีมใหญ่เกินไปเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นใจก็ยากที่จะควบคุมหรือป้องกันความเสียหาย และอาจส่งผลไปทั้งบริษัทได้ง่าย ๆ เช่น
สมมุติว่าแผนการของคุณคือการปรับเครื่องจักรที่ทำให้สร้างผลผลิตกับองค์กรมากขึ้น เราอาจจะต้องทดลองกับเครื่องตัวเดียวก่อน โดยที่จะช่วยลดความเสี่ยงขณะทดสอบ ที่อาจใช้เวลานานแล้วยังใช้ทรัพยากรเยอะไปอีก โดยการทดสอบนี้จะสามารถบอกตัวเลขได้ว่าผลออกมาเป็นอย่างไร สามารถนำไปใช้ได้หรือไม่ แล้วเราจะเจอกับปัญหาการปฏิบัติงานแบบกว้างอย่างไร ทำให้สามารถสร้างแผนสำรองขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน
3. C = Check ประเมิน พร้อมสรุปผล
หลักการพัฒนาตัวเองขั้นตอนต่อมาก็คือการตรวจสอบ ประเมิน พร้อมสรุปผลที่เราทำ โดยที่จะมีการพิจารณาดูว่าผลลัพธ์ที่ได้ทั้ง 2 ขั้นตอนเป็นอย่างไร สามารถไปถึงเป้าหมายได้ตามที่เราตั้งใจหรือไม่ ซึ่งหากเราสามารถทำได้จริง ๆ ก็สามารถข้ามขั้นตอนที่ 4 ไปได้เลย แต่หากพบว่ามีปัญหาระหว่างทางสูง หรือผลลัพธ์ได้มาแบบไม่ดี ก็จะกลับไปที่ขั้นตอนแรก คือ Plan เพื่อวางแผนใหม่ และตั้งเป้าหมายใหม่อีกครั้ง โดยที่เราสามารถนำแนวคิด หรือการพัฒนามาช่วยสร้างกระบวนการใหม่ได้เรื่อย ๆ เพิ่มประสิทธิภาพตามหลักการพัฒนาตัวเองให้ในทุกเดือน หรือทุกปี ทั้งนี้ การทำตามวงจร PDCA มีองค์ประกอบย่อยหลากหลาย และอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร บางขั้นตอนจึงอาจรวมกับขั้นตอนการทำแบบควบคู่ มีการปรับปรุงทันที ซึ่งต้องอยู่ที่ความยืดหยุ่นของทีมงานองค์กรด้วย
4. A = Action ปรับปรุง พร้อมดำเนินการแผนใหม่ต่อไป
อย่างที่บอกหลังจากที่วางแผน ทดสอบ และเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำทุกอย่างมาปรับปรุง พร้อมนำไปปฏิบัติจริง แต่หากไม่ได้ก็ต้องมีการวางแผนใหม่เกิดขึ้น ซึ่งเราสามารถนำปัจจัยเสริมอื่น ๆ มาช่วยในหลักการพัฒนาตัวเองนี้ได้ด้วย
PDCA คือ วงจรทั้ง 4 PDCA ที่ถือเป็นหลักการพัฒนาตัวเองพร้อมสร้างประโยชน์ให้ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างประสิทธิภาพที่ดีกว่า เริ่มต้นที่ปัญหา และได้รับการแก้ไขเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงได้ รวมถึงสามารถปรับปรุงและพัฒนาได้ต่อเนื่อง เพราะทำได้ในระยะยาวซ้ำ ๆ พร้อมเป็นตัวช่วยให้ตัดสินใจง่ายมากขึ้นด้วยเป้าหมาย และการวัดผลที่ชัดเจนมาก ๆ ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อพัฒนาองค์อย่างดีที่สุด รวมถึงลดความเสี่ยงด้านการจัดการ เพราะเป็นทีมเล็กที่ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ๆ ไม่ทำให้เกิดรอบรั่ว หรือความเสี่ยงในอนาคตที่จะมีมาถึงโดยไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ดี หลักการพัฒนาตัวเอง PDCA นี้ ไม่เหมาะกับการนำช่วยพัฒนาให้ตนเองเก่งขึ้นแบบเร่งด่วน หรือต้องการผลลัพธ์ที่รวดเร็ว เพราะเป็นหลักการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ และดูถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา ซึ่งความน่าสนใจที่สุดคงเป็นเรื่องของการใส่ใจพร้อมพัฒนาตนเองนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคได้อย่างไร้ที่ติ
ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/
บทความน่ารู้อื่นๆ คลิกไปอ่านกันเลย
1.ยกก๊วนชวนไปมันส์! กับกิจกรรมที่ผู้ชายนิยมทำกันในวันหยุด
2.เปิด 5 อันดับหนังทำเงินระดับโลก! ที่คุณไม่ควรพลาดชมเลยสักเรื่อง