หนุ่ม ๆ คนไหนที่รู้ตัวว่าเป็นสาวกกางเกงยีนลีวายแล้วนั้นเมื่อสังเกตดี ๆ จะพบว่าป้ายกางเกงลีวาย มีหลายสีมาก ซึ่งรู้หรือไม่ว่าแต่ละสีบ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกันอยู่ด้วย และถ้าใครไม่รู้อยากทำความเข้าใจมากขึ้นเราไม่รอช้ามีมาแนะนำอย่างเจาะลึก พร้อมเรื่องอื่น ๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
ใครที่รู้ตัวว่าเป็นสาวกของกางเกง Levi's ก็อาจจะสังเกตได้เลยว่ามีป้ายสีหลากหลาย แต่กระนั้นบางคนอาจจะยังไม่รู้ถึงความหมายของสีที่จริง ๆ แล้วมีความหมายแตกต่างกันออกไป โดยแต่ละสีนั้นมีความหมายคือ
1.ป้ายแถบธงลีวาย
หรือ Flag Tab ที่บางคนเรียกว่าป้ายริบบิ้นที่เรียกไปตามสีป้าย โดยที่จะมีอะไรสะดุดตามากกว่าแถบผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่จะมีอักษรสีขาว ติดไว้ข้างหลังกระเป๋าหลังของกางเกง โดยที่มีตั้งแต่ปี 1873 และไม่มีใครคิด และนึกถึงความสำคัญจนล่วงเลยมา 63 ปี ก่อนที่จะมีการนำผ้าสีแดงชิ้นเล็ก ๆ และอักษรสีขาวมาติดไว้ที่ปี ค.ศ. 1936
2.ป้ายเครื่องหมายการค้าลีวาย
ที่มีการเรียกต่างกันมีทั้งป้ายหนังคอม้าที่หากทำด้วยหนัง หรือ The two hose patch หรือป้ายปะเก็น หรือ Paper Tag หรือป้ายกระดาษ โดยที่ตั้งแต่การผลิตกางเกง Levi's ที่มีในปี 1873 ที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าจนถึงปี 1886 ผ่านมาอีก 13 ปี เพื่อให้มีเครื่องหมายการค้าที่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแรง เริ่มต้นจากป้ายหนังวัว แล้วเปลี่ยนเป็นป้ายกระดาษเพื่อลดต้นทุนการผลิตนั่นเอง
3.มีกระเป๋าใส่นาฬิกา
หรือ Watch Pocket ที่จะเป็นลักษณะกระเป๋าใบเล็ก ๆ ที่เป็นอีกชิ้นส่วนที่สำคัญของกางเกงยีนที่จุดประสงค์เพื่อใส่นาฬิกาที่เป็นรูปแบบพ็อกเก็ต เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีรูปแบบนาฬิกาข้อมือ
4.เส้นด้ายสีส้มที่มีของกางเกง
นอกจากป้ายกางเกงลีวายอาจมีหลายคนสงสัยว่ากางเกงยีนลีวายจึงใช้เส้นด้านเป็นสีส้มและเก็บในกางเกงยีน ซึ่งไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แสดงถึงเหตุผลนั้นออกมาที่เส้นด้ายสีส้มมันเด่นและสะดุดตาเมื่อเย็บลงไปผืนผ้าเดนิมสีน้ำเงินคราม
5.หมุดย้ำ
ชิ้นส่วนสำคัญที่กางเกงยีนส์ลีวาย ที่ถูกคิดค้นเพื่อสร้างความแข็งแรงกับกางเกงยีนในอดีตถูกติดไว้หลายแห่ง มีทั้งตรงมุมกระเป๋าหลัง ตรงเป้ากางเกงแต่ก็ต้องถอดออกไปก่อนเพราะหมุดจะทำให้เกิดความร้อน และไปสัมผัสผิวหนังน้องชายก็ควรจะทรมานเหตุผลที่ต้องถอดหมุดย้ำตรงเป้าออกนั่นเอง ก็เลยทำให้ปัจจุบันไม่มีแล้วนั่นเอง
6.การเดินด้ายเดี่ยว
หรือที่เรียกว่าซิงเกิ้ล คือการเดินจักรเย็บที่เป็นลักษณะด้านที่เป็นเส้นเดียวธรรมดา แต่ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีเครื่องจักรเย็บผ้าจึงทำให้ได้บางส่วนและในปี 1974 ก็ได้ยกเลิกการเดินเส้นด้ายเดี่ยวที่ขอบกระเป๋าหลังไปทันที
7.การเย็บแบบ V Stitched
เป็นการเย็บรูปแบบเดินด้ายรูปตัว V ที่ทำขึ้นเพื่อนเย็บไปทับเส้นด้าย โดยเป็นการเดินแบบลูกโซ่ตรงขอบกางเกงด้านล่าง ป้องกันไม่ให้เกิดการหลุดลุ่ยของเส้นด้ายที่เดินแบบลูกโซ่ที่จะหลุดออกมาโดยบังเอิญ เป็นการเย็นที่อยู่ในปีเก่า ๆ หรืองาน LVC งาน Re-Product
8.ป้ายแคร์
หรือ Care Instruction Tag ที่เปรียบเสมือนป้ายกางเกงลีวายที่ไว้ระบุการดูแลรักษา โดยที่จะอยู่ด้านในของกางเกงยีนที่ถูกเย็บติดไว้กับตะเข็บกางเกงอย่างดี โดยที่จะมีบอกวิธีการทำความสะอาด และอีกด้านก็จะมีรหัสเป็นตัวเลขด้วยเพื่อนที่จะบอกถึงวันเดือนปีที่ผลิต สถานที่ผลิต ไซซ์ รุ่น รหัสของผ้า ทำให้เราเข้าใจการใช้งานมากขึ้น
9.กระเป๋าหลังกางเกงลีวาย
ในเดิมทีนั้นกระเป๋ากางเกงยีนลีวายก็จะผลิตเป็น 4 ใบ และในปัจจุบันก็ได้เพิ่มเป็น 5 ใบเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นกระเป๋าใส่นาฬิกา ที่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะกระเป๋าหลังใบที่ 5 เป็นกระเป๋าเอาไว้ด้านซ้ายมือที่เพิ่มมาในปี ค.ศ. 1901
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนุ่ม ๆ ทั้งหลายจะเข้าใจถึงความแตกต่างของป้ายกางเกงลีวายที่แต่ละสีมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของกางเกงแบรนด์นี้ที่บางคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน กระนั้นในการดูแลรักษาซักทำความสะอาดก็อย่าลืมพิจารณาดูจากป้ายที่แนะนำด้วย เพื่อการยืดอายุใช้งานให้ยาวนานมากขึ้น
ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/
บทความน่ารู้อื่นๆ คลิกไปอ่านกันเลย
1.8 อาหารเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เพิ่มความฟิตปั๋ง กระชับสัมพันธ์รักให้แน่นแฟ้น