คงกลายเป็นปัญหาที่ต้องการการรักษาอย่างที่สุดเมื่อทารกเข้าข่ายภาวะลิ้นติดที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แน่นอนว่าคุณพ่อไม่อาจมองข้ามและจำต้องคอยระวังให้ดีไม่ให้เกิดภาวะนี้ขึ้นมาได้ แต่กระนั้นคงมีคุณพ่อหลายคนที่เพิ่งเคยได้ยินพร้อมอยากทำความรู้จักให้มากขึ้น วันนี้เราก็มีข้อมูลดี ๆ มาให้ศึกษาอย่างลึกซึ้งด้วยเช่นกัน ว่าแล้วก็อย่ามัวรอช้าไปติดตามกันเลย
ก่อนอื่นขออธิบายสร้างความเข้าใจไว้เลยว่าภาวะลิ้นติด หรือ Tongue – tie คือภาวะที่ลิ้นมีการเคลื่อนไหวได้ไม่มาก ถูกจำกัด ทำให้กระดกลิ้นหรือเลียริมฝีปากไม่ได้เลย ถามว่าสาเหตุการเกิดมาจากอะไร? บอกก่อนว่าปกติลิ้นจะมีเนื้อเยื่อที่หนาและสั้นอยู่แล้ว ยึดติดช่วงใต้ลิ้น และจะแยกตัวออกจากใต้ลิ้นกับพื้นล่างช่องปากตั้งแต่ก่อนแรกเกิด ทว่าเนื้อเยื่อนี้มันยังคงยึดติดอยู่ไม่ว่าทั้งที่หนา หรือสั้นเกินไปก็ตาม เมื่อมายึดเกาะระหว่างพื้นล่างของช่องปากและใต้ลิ้น จึงทำให้เป็นปัญหาทางด้านการพูด การกลืน การกินอาหารต่าง ๆ รวมถึงการดูดนมคุณแม่ด้วย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ถึงแม้จะสามารถหายไปเองได้แต่คุณพ่อควรระวังไม่ให้ลูกเป็นไว้ดีที่สุด
หลังจากที่รู้กันไปแล้วว่าTongue – tie คืออะไร ถึงเวลาของการรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วลูกจะแลบลิ้นออกมาได้แต่ไม่พ้นริมฝีปาก ลิ้นที่แลบออกมาก็จะมีความแบนเป็นเหลี่ยม หรือบางคนก็มีลักษณะเป็นรอยหยักคล้ายรูปหัวใจไม่สามารถขยับลิ้นไปที่มุมปากหรือด้านข้างได้ รวมถึงเอาปลายลิ้นขึ้นไปแตะเพดานไม่ได้ด้วย บริเวณฟันหน้าด้านล่างก็จะมีช่องว่างระหว่างฟันทั้ง 2 ซี่ นอกจากนี้ คุณพ่อสามารถให้คุณแม่ลองสังเกตลูกด้วยตนเองขณะกำลังให้นมลูก นั่นคือ
แน่นอนว่าภาวะลิ้นติดมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยเช่นกัน อย่างการออกเสียงที่จะยากลำบากมากขึ้น เพราะไม่สามารถดันลิ้นแตกเพดาน หรือกระดกลิ้นเหมือนเด็กทั่วไปได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อการทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องใช้ปากหรือลิ้น เช่น เลียไอศกรีม เลียริมฝีปาก ฯลฯ ที่สำคัญหารทำความสะอาดภายในช่องปากอาจจะไม่ทั่วถึง กรณีที่ยังคงป่วยด้วยโรคนี้ในอายุที่มากขึ้น ก็จะเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ เพราะไม่สามารถปัดเอาเศษอาหารออกได้ ทั้งช่องว่างของฟันหน้าด้านล่างที่มีมากก็ทำให้เศษอาหารเข้าไปติดอยู่ตลอดเวลา
ในส่วนของการวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ้นติดนั้นในบางครั้งแพทย์จะเริ่มตรวจสุขภาพของทารกแรกเกิด แต่ระหว่างนั้นก็มีโอกาสที่จะยังไม่ได้ป่วยโรคนี้ก็ได้ จนกระทั่งทารกได้ดูดนมคุณแม่ หรือได้กินอาหารต่าง ๆ ภายหลังมีการนัดตรวจเรื่องการให้นมลูกก็จะพบกับปัญหานี้ขึ้นได้ โดยที่แพทย์จะใช้ไม้กดไปที่ลิ้นแล้วตรวจสอบอย่างทั่วถึง พร้อมประเมินลักษณะของการเคลื่อนไหวลิ้น โดยให้เด็กลองขยับตามนิ้ว ส่วนเด็กโตที่รู้เรื่องแล้วแพทย์อาจจะวินิจฉัยให้ขยับลิ้นวนไปรอบ ๆ และเปล่งเสียงดัง ๆ ออกมา
ส่วนการรักษาภาวะลิ้นติดนั้นจริง ๆ แล้วหากให้เวลาอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง หรือก็จะยังคงอยู่แต่ไม่ได้สร้างปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนดการรักษาที่แต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป เพราะส่วนใหญ่ถ้าพบปัญหาก็จะทำการรักษาโดยทันทีก่อนที่จะออกจากโรงพยาบาล หรือแพทย์บางคนก็อาจจะให้รอดูอาการไปก่อน ส่วนเด็กบางคนที่มีปัญหาเรื่องการพูดและการดูดนม คุณพ่อคุณแม่ควรทำการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเรื่องการให้นมลูกโดยด่วน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหากันต่อไป หรือเด็กจะได้เข้ารับการบำบัดแก้ไขให้พูดได้ปกติ
สำหรับการป้องกันภาวะลิ้นติดนี้ด้วยความที่แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดอย่างแท้จริงได้ ทำให้ยากต่อการป้องกัน ทั้งนี้ ใครที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติภาวะนี้มาก่อนแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเลย เพื่อจะได้เข้ารับการวินิจฉัยก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก หรือถ้าจะมีก็จะได้รับมือกับภาวะนี้ได้ทันท่วงทีและถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ใครที่รู้สึกว่าลูกเข้าข่ายภาวะนี้อยากให้พบแพทย์โดยทันทีอย่ารอช้า เพราะหากเด็กมีภาวะนี้จริงจะได้ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทัน
แม้ว่าการเฝ้าระวังการเกิดโรคอาจจะดูยากไปสำหรับคุณพ่อ แต่หากกลัวว่าลูกจะมีอาการลิ้นติดขึ้นมาจริง ๆ อยากให้คุณพ่อและคุณแม่คอยสังเกตพฤติกรรมของลูกตามคำแนะนำข้างต้นดู เพราะลูกที่ยังเล็กไม่สามารถพูดหรืออธิบายสิ่งที่เจอได้ และเมื่อเข้าข่ายอย่างที่บอกคือรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/