คุณพ่อเตรียมเข้าครัว กับ 6 อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์สำหรับเด็กน้ำหนักน้อย

5 views

1 min read

เรื่องน้ำหนักของลูกในครรภ์ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งหากคุณพ่อพาคุณแม่ไปตรวจแล้วพบว่าเกิดปัญหาน้ำหนักลูกในครรภ์มีน้อยกว่าเกณฑ์ บอกเลยว่างานนี้คุณพ่อต้องเตรียมเข้าครัวแสดงฝีมือกันหน่อยแล้ว กับอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์หากลูกน้ำหนักน้อย แต่จะมีอาหารอะไรบ้าง? ใครยังไม่รู้สามารถไปศึกษากันได้ในบทความนี้เลย

6 อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ ที่คุณพ่อต้องทำให้คุณแม่กิน

1. ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา

อาหารเมนูไข่ถือว่าขึ้นชื่ออย่างมาก ยิ่งคุณแม่ไม่ชอบกินเนื้อสัตว์ หรือมีปัญหาแพ้อาหารทะเลแล้วคุณพ่อคงต้องเลือกทำเมนูจากวัตถุดิบนี้เสียแล้วซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้ทั้งไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่นกกระทาตามความต้องการ เพราะในไข่มีทั้งโปรตีน กรดอะมิโนโคลีน กรดโฟลิก ที่ถือเป็นแร่ธาตุและวิตามินที่แสนสำคัญต่อร่างกาย เพราะจะช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้เต็มที่ น้ำหนักลูกในครรภ์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน แนะนำให้กินไข่ที่ปรุวสุกแล้ว 1 ฟอง

2. อาหารทะเล

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบรรดาอาหารทะเลนับเป็นแหล่งรวบรวมสารอาหาร อย่างโปรตีน พร้อมโอเมกา 3 ที่พร้อมช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยเจริญเติบโตได้ดีเต็มที่ โดยเฉพาะปลาทะเล แซลมอน ทูน่า กุ้งแม่น้ำที่จะไปเพิ่มน้ำหนักให้ลูกในครรภ์สบาย ๆ แถมบำรุงสมองไปในตัวไปอีก จึงไม่อาจมองข้ามอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์นี้ไปได้

3. บรรดาเนื้อสัตว์

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ที่คุณพ่อควรเลือกดูแลคุณแม่โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกอย่างมากก็คือบรรดาเนื้อสัตว์นี่แหละ แต่แนะนำว่าต้องไม่เป็นที่ติดมันไม่ว่าจะสันในหมู อกไก่ เพราะส่วนเหล่านี้ช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งธาตุเหล็ก โปรตีน วิตามินบี ที่สำคัญคุณแม่ไม่มีทางที่น้ำหนักตัวเองจะเพิ่มขึ้นมาง่าย ๆ ด้วย

4. ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ

เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์คุณพ่อควรให้คุณแม่เลือกกินอาหารที่ได้รับทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันที่มีความจำเป็นเข้าสู่ร่างกายด้วย แนะนำว่าเป็นบรรดาถั่วชนิดต่าง ๆ อย่าง วอลนัท ถั่วเหลือง ถั่วแดง อัลมอนด์ และธัญพืชอย่าง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย ฯลฯ ตัวคุณแม่และลูกได้รับสารอาหารที่ดีเต็มที่ แถมอิ่มสบายท้องไปอีก

Sponsored

5. ผักใบเขียวพันธุ์ต่าง ๆ

แน่นอนว่านี่เป็นอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ที่คุณแม่ไม่อาจเลี่ยงไปได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งบรรดาผักใบเขียวถึงอย่างไรคุณแม่ต้องเลือกกินให้มากเพียงพอ เพราะสิ่งนี้จะมีกากใยเยอะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ทั้งดอกกะหล่ำ บล็อกโคลี่ ผักโขม ที่มีแร่ธาตุและวิตามินเอที่สำคัญ พร้อมแคลเซียม และโปรตีนไปอีก พัฒนาระบบกล้ามเนื้อและกระดูกให้มีประสิทธิภาพไปพร้อม ๆ กันได้อย่างเต็มที่

6. โยเกิร์ตและนม

ถือเป็นอาหารที่คุณแม่ต้องเลือกกินอีกเช่นกัน โดยที่คุณพ่อหาได้ต้องหาให้ทุกวันไปเลย แนะนำว่าให้เลือกทั้งนมและโยเกิร์ตเป็นสูตรน้ำตาลน้อยหรือมีไขมัน 0% ช่วยให้ลูกได้รับการกระตุ้นเพื่อเติบโตได้อย่างเต็มที่ มีประสิทธิภาพ รับรองว่าน้ำหนักจากที่ต่ำกว่าเกณฑ์คือเยอะขึ้นมาได้สบาย ๆ เพราะทั้งโยเกิร์ตและนมเป็นอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและโปรตีนนั่นเอง

น้ำหนักลูกที่อยู่ในครรภ์ตามเกณฑ์ควรเป็นอย่างไร

เชื่อว่าคุณพ่อหลาย ๆ คนคงอยากจะศึกษาเรื่องของน้ำหนักลูกในครรภ์ที่อยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานร่วมไปด้วย เพื่อให้รู้ว่า ณ ขณะนี้น้ำหนักของลูกเหมาะสมแล้วหรือไม่ เพราะไม่อย่างนั้นก็ต้องจัดเตรียมอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ไว้แต่เนิ่น ๆ โดยปกติก็จะมีการนับตัวอ่อนของเด็กในครรภ์ตั้งแต่อายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป และเราก็ได้มีสรุปพอสังเขปมาให้ร่วมศึกษา ได้แก่

  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 8 – 11 สัปดาห์จะอยู่ที่ 1 – 7 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 12 – 15 สัปดาห์จะอยู่ที่ 14 – 70 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 16 – 19 สัปดาห์จะอยู่ที่ 100 – 240 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 20 – 23 สัปดาห์จะอยู่ที่ 300 – 501 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 24 – 27 สัปดาห์จะอยู่ที่ 600 – 875 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 28 – 31 สัปดาห์จะอยู่ที่ 1,500 – 1,502 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 32 – 35 สัปดาห์จะอยู่ที่ 1,702 – 2,383 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 36 – 39 สัปดาห์จะอยู่ที่ 2,622 – 3,288 กรัม
  • น้ำหนักปกติของทารกที่มีอายุครรภ์ 40 – 43 สัปดาห์จะอยู่ที่ 3,462 – 3,717 กรัม

วิธีการสังเกตว่าถึงเวลาที่คุณพ่อต้องเข้าครัวทำอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์นั้นมีตั้งแต่การวัดจากความสูงของยอดมดลูกโดยใช้สายวัดแนบไปส่วนโค้ง อายุครรภ์ประมาณ 18 – 30 สัปดาห์ ระยะที่วัดจะต้องเท่ากับอายุครรภ์หน่วยเป็นเซนติเมตร เช่น อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ก็จะต้องวัดได้ 20 เซนติเมตรนั่นเอง หรือจะให้คุณแม่ไปชั่งน้ำหนักดูก็ได้ ว่ามีการเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติหรือไม่ ซึ่งปกติแล้วน้ำหนักของคุณแม่ต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเรื่องโดยเฉลี่ยแล้วสัปดาห์ละ 0.2 – 0.5 กิโลกรัมหลังมีอายุครรภ์ได้ 3 เดือน สุดท้ายก็คือการไปอัลตราซาวด์เพื่อประเมินดูน้ำหนักกับคุณหมอที่ดูแลอยู่แล้ว แน่นอนว่าวิธีนี้แม่นยำกว่าวิธีอื่น

ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/