เชื่อว่าในปัจจุบันนี้นั้นมีหลาย ๆ คู่รักที่อยากใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันแต่ก็ไม่ได้อยากมีลูก หรือที่เรียกว่า DINK แนวคิดคนรุ่นใหม่ กระนั้นเมื่อพูดถึงชื่อนี้มีหลายคนไม่เคยรู้จักมาก่อนและอยากทำความเข้าใจแบบสุด ๆ เราไม่รอช้าที่จะรวบรวมข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง แต่จะเป็นลักษณะแบบไหน น่าสนใจอย่างไรว่าแล้วก็ตามมาทางนี้ด่วน ๆ
มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันอย่าง Gary Becker ที่ได้ศึกษาดูถึงแนวคิดคนรุ่นใหม่ DINK นี้นั้นว่าเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นโดยอาจมาจากผลพวงทางเศรษฐกิจที่มาจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่มาจากค่าใช้จ่ายทางการเงินของผู้ปกครองที่ต้องเพิ่มมากขึ้น เช่น การเลี้ยงดูเด็ก ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายทางอ้อมด้วย เช่น ค่าเสียโอกาสในเวลาที่ต้องตั้งครรภ์ เวลาเลี้ยงดูที่ทำให้ผู้หญิงอยากมีลูกน้อยลงมาก นอกจากนี้เรื่องเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2008 ก็ทำให้คนที่อยู่ใน Gen X เสียทรัพย์สินไปกว่า 45% และถือเป็นหนึ่งใน 3 ของ Gen X ที่ทำให้เกิดหนี้สินจำนวนมาก ส่งผลมาให้การมีลูกลดน้อยลง เพราะไม่มีทรัพยากรทางการเงินที่จะเลี้ยงลูกกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดใหม่ DINK นี้
ให้เข้าใจกันง่าย ๆ ไปเลยว่า Dual Income No Kids หรือ DINK คือ คำนิยามที่อยู่ในรูปแบบคู่สามีภรรยาที่ไม่อยากมีลูก อยากอยู่กินกันไปเอาเงินไปใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เหตุผลหลัก ๆ คือต้องการมีความสุขกับตัวเอง กับคนรัก และอยากได้ใช้ชีวิตที่ยืดหยุ่น รองลงมาคือความกังวลด้านการเงินที่ 2 คนก็อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการมีลูก และอีกอย่างคือต้องการมีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น ส่วนความคาดหวังแนวคิด DINK ของคุณ Gen Z นั้นต้องบอกว่าคนรุ่นใหม่มีการใช้ชีวิตที่อาจต้องระมัดระวังทางการเงินมากขึ้น แต่ผลสำรวจกลับพบว่าคน Gen Z กว่า 86% เอาเงินไปใช้กับการซื้อบ้าน หรือที่อยู่อาศัย และ 85% ก็เลือกที่จะลงทุนเรื่องสุขภาพ ซื้อประกัน หรือซื้อของให้กับครอบครัว เดินทาง ไปเที่ยว กินอาหารนอกบ้าน ฯลฯ
ทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเลยหลังจากที่รู้แล้วว่า DINK คืออะไร ต่อมาก็คือจุดเด่น – จุดด้อยที่มี ซึ่งถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจอีกเช่นกัน
จุดเด่น : แนวคิด DINK เป็นแนวคิดที่ว่าจะช่วยให้คู่สามีภรรยามีเวลาว่างเยอะมากขึ้น นอกเหนือจากการทำงานที่ต้องมีความรับผิดชอบ ก็อยากที่จะใช้ชีวิตแบบอิสระบ้าง ไม่ว่าจะ การดูหนัง ไปยิม หรือกินอาหารที่ร้านโปรด ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องมาเก็บไว้เพื่อลูก หรือช่วยเพิ่มความคล่องตัวในตัวเองได้ดี คู่รักจะไม่มีความสัมพันธ์ที่ต้องมาคอยกังวลกัน จะเดินทาง ตัดสินใจทำกิจกรรมอะไรก็ทำได้ไม่ต้องมาดูเรื่องของเด็ก ๆ เกี่ยวข้องมาก หรือทำให้ชีวิตมีอิสระมากขึ้น มีการเงินที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องแบกรับค่าเลี้ยงดูลูกที่ดูเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่อะไร ซึ่งจากผลวิจัยจากครอบครัวในประเทศสหรัฐฯ แล้วนั้น การออมเงินเพื่อการเกษียณไม่มีเลยส่วนใหญ่ก็ต้องเอามาไว้เลี้ยงลูกนั่นเอง
จุดด้อย : ถือเป็นการขาดวิสัยทัศน์ในระยะยาวเพราะการที่ไม่มีลูกคู่รักสามีภรรยาก็อาจจะจ่ายเงินไปกับไลฟ์สไตล์ที่มากเกินไปจนลืมวางแผนทางการเงิน เช่น การสำรองค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง หรือแนวโน้มที่จะจ่ายเกินตัวไปเพียงเพราะคิดว่าไม่มีลูกก็ไม่ต้องเสียเงินกับส่วนนี้ ดังนั้นจึงจ่ายเงินเกินตัวได้ง่าย มีความรับผิดชอบในการออมน้อยลง และใช้เงินซื้อของกินข้าวนอกบ้านมากเกินไป หรือหยุดเทศกาลก็วางแผนไปเที่ยวก็จ่ายเงินเกินตัวไปอีก
เผื่อว่าใครที่อาจจะยังลังเลกับแนวคิดนี้อยากรู้ว่าการเลี้ยงลูก 1 คนจะใช้เงินเท่าไหร่? ตามข้อมูลการวิจัยของประเทศสหรัฐฯ ในกลุ่มกรมวิชาการเกษตร คู่สามีภรรยาที่รายได้ปานกลาง มีค่าใช้จ่ายเทียบเท่าค่าเงินบาทไทย ที่ 8,367,910 บาท ตั้งแต่การเลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นที่หลังจากอายุ 18 ปี อย่าง ค่าอาหาร ค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัย ค่ากิจกรรมต่าง ๆ (ส่วนในไทยก็คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อเด็ก 1 คนที่ 1,038,400 บาท) ซึ่งนอกจากเงินก็ยังมีในเรื่องของเวลาการดูแลตัวเอง ดูแลเด็กที่เกิดขึ้นโดยเด็กอายุ 6 ปี ใช้เวลานานต่อวันกว่า 2.14 ชม. และการเลี้ยงดูลูกใช้เวลาเยอะ แนวคิดแบบ DINK จึงทำให้เราอยากใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองมากขึ้น
และนี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ DINK ที่ถือว่าเป็นแนวคิดที่ช่วงวัยคู่รักสามีภรรยาหลายคนอาจจะอยู่ไปแล้วแต่ไม่รู้ตัว คืออยู่ด้วยกันแบบที่ไม่ต้องการมีลูก หวังว่าทุก ๆ คนจะเกิดความเข้าใจมากขึ้น ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนการใช้ชีวิตในสังคมย่อมเปลี่ยนไปด้วยเช่นกันไม่ใช่เรื่องแปลก
ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/
บทความน่ารู้อื่นๆ คลิกไปอ่านกันเลย
1.8 อาหารเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เพิ่มความฟิตปั๋ง กระชับสัมพันธ์รักให้แน่นแฟ้น