ลูกสำลักยา อันตรายแค่ไหน ป้องกันอย่างไร เรื่องที่คุณพ่ออย่ามองข้าม

86 views

1 min read

เคยไหม? ป้อนยาลูกอยู่จู่ ๆ ลูกเกิดลำสักยาออกมาดื้อ ๆ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้อาจมีคุณพ่อบางคนที่คิดว่าเป็น เป็นเรื่องปกติ ทั้งที่จริงแล้วอยากบอกว่าปัญหาลูกสำลักยาไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ คุณพ่อต้องรู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ว่าแต่ปัญหาสำลักนี้อันตรายแค่ไหน ป้องกันอย่างไร ใครใคร่อยากรู้ก็ไปติดตามพร้อมกันกับเราเลยดีกว่า เพราะบทความนี้มีรายละเอียดรวบรวมมาให้ศึกษาอย่างเจาะลึก

ปัญหาลูกสำลักยา อันตรายแค่ไหนคุณพ่อต้องรู้

บ่อยครั้งที่เด็กหลายคนเมื่อถูกคุณพ่อป้อนยาเข้าปากไปแล้วมักเกิดปัญหาสำลักออกมา หรือหายใจไม่ออกเพพาะมีสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก ถ้าเป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็ก แต่ในบางกรณีที่เกิดสำลักแล้วกลายเป็นว่ายาไปติดค้างอยู่ในหลอดลม แล้วเด็กยังไม่รู้จักวิธีไอออกมาแรง ๆ ก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน เพราะอากาศจะไม่สามารถเดินทางผ่านหลอดลมไปสู่ปอด เด็กเกิดอาการชักเกร็ง หายใจไม่ออก สังเกตจากริมฝีปากที่เปลี่ยนเป็นสีม่วงก็ได้ ซึ่งสาเหตุของปัญหาลูกสำลักยา มีด้วยกันหลากหลาย คือ

  • ลูกป่วยแล้วงอแงหนักมาก เมื่อคุณพ่อป้อนเกิดต่อต้านการกินยาก็ทำให้สำลักยาออกมาได้
  • ลูกถูกคุณพ่อบังคับให้กินยา หรือคุณพ่อป้อนยาลูกในปริมาณที่มากเกินไป รวมถึงให้กินเร็วมาก ทำให้ลูกกินไม่ทันและสำลักออกมาในที่สุด
  • ลูกถูกเบี่ยงเบนความสนใจมากเกินไป จนทำให้เวลากลืนยาลงคอผิดจังหวะไปได้ก็เกิดปัญหาลูกสำลักยา
  • ลูกที่ยังทารกอยู่อาจไม่ชินกับยา พอคุณพ่อป้อนยาก็กลืนไม่เป็นทำให้เกิดปัญหาสำลักออกมาได้

ปัญหานี้ป้องกันอย่างไร คุณพ่อรู้ไว้ลดความเสี่ยงได้ดี

หากลูกป่วยแล้วคุณพ่อต้องป้อนยาหากลูกกินง่าย ๆ ก็ถือว่าเป็นความโชคดีไป แต่ก็อาจไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน เพราะมีอีกเยอะที่เกิดปัญหากินแล้วสำลักออกมา แน่นอนว่าการรู้วิธีป้องกัน จะช่วยลดความเสี่ยงได้ดี นั่นคือ

1. ถ้าลูกร้องไห้อยู่อย่าเพิ่งป้อน

เมื่อลูกไม่สบาย หรือป่วยคงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีอาการงอแง ร้องไห้ไม่เอาอะไรเลย ดังนั้น หากลูกร้องไห้อยู่คุณพ่ออย่าเพิ่งรีบป้อนยาเด็ดขาด เพราะการป้อนยาในขณะที่ลูกกำลังร้องไห้มีโอกาสที่จะทำให้ลูกกลืนผิดจังหวะ เมื่อกลืนผิดจังหวะยาก็อาจไปตกในหลอดลมแทน จนลูกสำลักยาในที่สุด

2. หากเป็นยารสจัดให้ผสมน้ำด้วย

ในกรณีที่ยาที่ต้องป้อนลูกดูแล้วมีรสชาติที่จัดจ้านเกินไป หรือกลิ่นค่อนข้างแรงจนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกไม่อยากกิน ก็ให้ผสมน้ำกับยาเข้าด้วยกันเพื่อเจือจางรสชาติและกลิ่นให้น้อยลง เพราะไม่อย่างนั้นลูกต่อต้านการกินยา แต่พ่อจำเป็นต้องป้อน ก็มีโอกาสที่จะทำให้ลูกเกิดปัญหาสำลักยาได้ด้วยเช่นกัน

3. หากเป็นยาที่ขมให้เติมน้ำหวาน

กลับกันยาบางชนิดก็ไม่ได้ทำรสชาติให้หอมหวาน หรืออร่อยเท่าไรนัก เผลอ ๆ มีความขมปลายลิ้นไปอีก ทำให้เด็ก ๆ ไม่อยากกินยาเข้าไปใหญ่ แนะนำว่าถ้ารสชาติของยาขมให้คุณพ่อเติมน้ำหวานลงไปเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติที่จะทำให้ลูกกลืนยาลงคอไปง่าย ๆ ไม่ขัดขืนการกินยา และไม่ทำให้ลูกสำลักยาด้วย

4. ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลคุยกับลูก

Sponsored

บางครั้งการขึ้นเสียงใส่ หรือบังคับด้วยน้ำเสียงที่ไม่เป็นมิตรกับลูก ลูกจะต่อต้าน หรือร้องไห้งอแงเพราะไม่อยากกิน ยิ่งทำให้ป้อนยาลูกลำบากกว่าเดิมไปอีก ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาลูกต่อต้านการป้อนยาหมดไป คุณพ่อจึงควรใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล พร้อมพูดบอกถึงเหตุผลที่ต้องกินยา กินแล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไร ถ้าไม่กินจะเป็นอย่างไร แล้วค่อย ๆ ป้อนลูกในปริมาณที่เหมาะสม รับรองว่าปัญหาลูกสำลักยาจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

5. ปล่อยให้ลูกกินยาด้วยตนเอง

หรืออีกวิธีป้องกันการสำลักของลูก แนะนำว่าให้ลูกป้อนยาตัวเองไปเลย ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำให้ตัวเองหายป่วยไว ๆ ภายใต้การดูแลของคุณพ่ออย่างใกล้ชิด เพียงแต่คนที่เอาช้อนป้อนยาเข้าปาก คือตัวลูกเอง ทั้งการปล่อยให้ลูกป้อนยาตัวเองเมื่อลูกป่วยจะทำให้เขารู้สึกภาคภูมิใจ มั่นใจ และอยากทำให้ตัวเองหายป่วย ลดความเสี่ยงสำลักยาได้เป็นอย่างดี

6. ใช้ไซริ้นจ์ช่วยอีกแรง

ปิดท้ายทางเลือกสุดท้ายที่จะไม่ทำให้ลูกสำลักยาก็คือการใช้ตัวช่วยอย่างไซริ้นจ์ที่จะเป็นการหยอดยาสำหรับทารกเข้าไปในปาก ซึ่งจะอยู่ในลักษณะการหยดทีละเล็กทีละน้อยไม่ทำให้ลูกได้รับปริมาณมากเกินไป หรือใช้ช้อนป้อนยาสำหรับเด็กแทน เพราะจะเข้ารูปและป้อนง่ายมากกว่า

ดูข้อมูลเพิ่มเติม การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด - 1 ปี

ปัญหาลูกสำลักยาถือว่าต้องให้ความสำคัญอย่างที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับการรักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่มีความเสี่ยงถึงแก่ชีวิตเมื่อต้องมาสำลักยาระหว่างกินไปได้ ซึ่งคุณพ่อที่กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่อย่านิ่งนอนใจ ควรเลือกคำแนะนำข้างต้นไปปรับใช้ปฏิบัติตามอาจช่วยให้ปัญหาผ่อนหนักกลายเป็นเบาได้ ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ลูกหายป่วยไว ๆ และไม่สำลักยาเกิดขึ้นอีกต่อไป สบายใจทั้งพ่อและลูก

ติดตาม Papa Expert ได้ที่
Website - papaexpert.com
Blockdit - blockdit.com/papaexpert
Facebook - facebook.com/daipa.papa
Instagram - instagram.com/daipa_papa/